ผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่ใช้ในชีวิตประจำวันล้วนมีการเคลือบสีบนพื้นผิว ด้วยเหตุผลหลายประการ: เป็นการปรับปรุงด้านการมองเห็น ความเรียบเนียนหรือคุณสมบัติอื่นๆ การเคลือบสีและแตกต่างกันไม่เพียงแต่ในประเภทของวัสดุ / สี / วานิช แต่ยังรวมถึงความหนาซึ่งสามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดความหนาของสีทุกวันนี้สารเคลือบอาจมีความหนาเพียงไม่กี่นาโนเมตรและในทางกลับกันก็หนามาก จึงเป็นเหตุให้จำเป็นต้องวัดความหนา
การเคลือบแบบบางพบการใช้งานอย่างกว้างขวางในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ (สิ่งทอ ยาทางการแพทย์ เคมี ทะเล น้ำมัน ก๊าซ การผลิตและบรรจุภัณฑ์ และอื่นๆ อีกมากมาย)
แม้จะมีความหนาการเคลือบสีดังกล่าวสามารถปรับปรุงคุณภาพ ความทนทาน และความต้านทานของวัสดุพื้นฐานได้ สารเคลือบอาจแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุพิมพ์: โลหะ ออกไซด์ อนินทรีย์ ไม่นำไฟฟ้า ใช้โดยการพ่นด้วยความร้อน ฯลฯ ประเภทของสารเคลือบจะถูกเลือกตามคุณสมบัติของวัสดุพื้นผิว ตัวอย่างเช่น ในวงการแพทย์ มีการทดลองกับ
ความจำเป็นในการวัดความหนาสี (การเคลือบ)
เกจวัดความหนาของสีคืออะไร เคยสังเกตหรือไม่ว่าสีของรถยนต์ทำไมถึงมีสีที่สวยงามและดูสม่ำเสมอกันไปทั้งคัน นั่นก็เพราะว่ามีค่าความหนาของสีเท่ากันทั้งคันนั่นเอง แล้วทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญ เพราะความหนาของสีโดยเฉพาะในรถยนต์เป็นสิ่งที่วัดมูลค่าของรถยนต์ได้และยังสามารถตรวจสอบได้อีกด้วยว่าจุดไหนของรถที่มีการซ่อมหรือเพิ่มความหนาของสีเข้าไปอีก
ดังนั้นความหนาสีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทราบด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่างไม่ใช่แค่สีของรถยนต์เท่านั้น ยังมีความหนาของผนัง ของเหล็กและแก้วอีกด้วย จึงทำให้เครื่องวัดความหนาสีจำเป็นมากสำหรับสายงานอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ และเครื่องมือวัดความหนาสีก็ยังสามารถวัดความหนาของผิวเคลือบได้ เช่น งานชุบ วัสดุที่เป็นเหล็ก งานพ่น หรืองานอโลหะ(Non Ferrous) งานโลหะเช่น สังกะสี เหล็ก หรือโลหะที่แม่เหล็กนั้นสามารถดูดได้ งานอโลหะ คือ อลูมิเนียม ซิงค์ และทองแดง
การทดสอบความหนาการเคลือบ
วิธีการทดสองความหนาสี ก็สามารถทำได้โดย Electromagnetic Testing หรือการทดสอบโดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นรูปแบบหนึ่งของการทดสอบแบบไม่ทำลายเป็นกระบวนการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้า หรือสนามแม่เหล็ก ภายในวัตถุที่ต้องการทดสอบและสังเกตการตอบสนองของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าถ้าการทดสอบถูกทำขึ้นอย่างถูกต้อง ความบกพร่องภายในวัตถุที่ต้องการทดสอบจะสร้างการตอบสนองของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถวัดได้
หลักการของเครื่องวัดความหนาสี Coating Thickness, การใช้หลักการสะท้อนกลับ เรานำหัวโพรบไปสำผัส กับชิ้นงาน จะส่งคลื่นไฟฟ้า ที่เรียกว่า eddy current ผ่านสี ไปกะทบกับ โลหะ หรือ อโลหะ และสะท้อนกลับมาอ่านค่า เป็นดิจิตอล ซึ่ง ตัวเครื่องสามารถอ่านค่าได้ ทั้ง mil (มิล)และ um(ไมคอน) แล้วเกจวัดความหนาของสีนั้นก็มีราคาและความสามารถแตกต่างกันไปตามการใช้งาน เช่นเครื่องที่สามารถวัดความหนาสีหรือฟิล์มบนโลหะได้ ช่วงการวัดความหนาของสีผิวเคลือบจาก 0-1800 ไมครอน หรือ 0 ถึง 70.0mil มีทั้งความละเอียดและค่าความถูกต้องที่แตกต่างกันไป หรือแม้กระทั่งหน้าจอที่แสดงผลได้แบบ LCD
หากต้องการเครื่องวัดความหนาสี เราต้องรู้ก่อนว่าชิ้นงานนั้น ๆ เป็นโลหะหรืออโลหะจึงจะสามารถเลือกหัวโพรบได้ถูกต้อง แต่หากมีชิ้นงานที่หลากหลายขึ้น ก็มีเครื่องวัดที่สามารถวัดได้ทั้งสองชนิดในตัวเดียว
หน่วยของความหนาผิวเคลือบสี
ในการวัดความหนาของถุงพลาสติกหรือสีเคลือบบนพื้่้นผิวเรานิยมใช้ความหนาในหน่วยมิล ( Mils) และไมครอน Microns (µm) ซึ่งมีขนาดเล็ก แต่ใช้ร่วมกันไม่ได้เพราะใช้ระบบการวัดสองแบบที่แตกต่างกัน
- หน่วยมิล ( Mils) เป็นหน่วยวัดของระบบอังกฤษ 1 MIL คือ 1/1,000 นิ้ว หรือ 0.001นิ้ว
- ไมครอน Microns (µm) เป็นหน่วยวัดระบบเมตริก 1 ไมครอน คือ 1/1,000 ของมิลลิเมตร